วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

กฏหมายเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

กฎหมายอินเทอร์เน็ต


กฎหมายเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มี National Information Technology Committee : NITC  เป็นผู้ควบคุมดูแล
ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อการติดต่อสื่อสารทั้งในส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจหรือรวมทั้งการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันทุกองค์การต้องมีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนั้นต้องมีการควบคุมดูแลผลประโยชน์ของผู้ที่นำข้อมูลมานำเสนอผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูล จากการประชุมคณะรัฐมนตรี ทางคณะรัฐมนตรีได้มีนโยบายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการปฏิรูปกฎหายเมทคโนโลยีสารสนเทศ ( National Information Technology Committee : NITC ) เป็นผู้รับผิดชอบกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology Law ) จำเป็นต้องมีการตรากฎหมายขึ้นบังคับทั้งหมด 6 ฉบับ ได้แก่

1. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์
     ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต้องสามารถระบุตัวผู้ลงลายมือชื่อได้  มีผู้ถือใบรับรอง  ผู้ใช้ใบรับรอง  และบุคคลที่เป็นคนกลางในการออกใบรับรอง

2. กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
       เป็นการคุ้มครองเพื่อมิให้เกิดการกระทำที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เสียหายจากการนำความรู้ทางคอมพิวเตอร์ไปใช้ในทางที่ผิด  จำแนกเป็น   ขโมยข้อมูลมาเปลี่ยนแปลง  ทำลายข้อมูล  ทำให้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นเสียหาย การเจาะรหัสผ่านเข้าไปในระบบ  การเผยแพร่ภาพลามกอานาจาร  ขโมยโอนเงิน  คัดลอกโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้ในทางที่ผิด  การข่มขู่ผ่านทางคอมพิวเตอร์ สร้างสิ่งรบกวนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

3. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
       ต้องมีผู้รับผิดชอบหากเกิดการโอนเงินผิดหรือพบข้อผิดพลาด

4. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
        กฎหมายคุ้มครองการเผยแพร่เอกสารข้อมูลบุคคล

5. กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78
        เป็นกฎหมายพัฒนาโครงสร้างสารสนเทศอย่างทั่วถึง

6. กฎหมายคุ้มครองสิทธิ์
       ได้แก่การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา  ลิขสิทธิ์  สิทธิบัตร  และ เครื่องหมายการค้า

ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

เรื่องของ "การละเมิดลิขสิทธิ์" เป็นเรื่องใกล้ตัวของเราทุก ๆ คน เราอาจจะกระทำผิดได้ด้วย "ความไม่รู้" แต่กฎหมายไม่สนใจความไม่รู้ของเรานะครับ

ไม่ว่าจะเป็นการเขียนหนังสือ ทำผลงานวิชาการ หรือแม้กระทั่งการเขียนบันทึกในรูปแบบ BLOG ในอินเทอร์เน็ต เรามีความเสี่ยงที่จะทำผิด "กฎหมายลิขสิทธิ์" ได้กันทุกคน ไม่ว่าจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือ รู้อยู่แก่ใจ

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ได้กำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ไว้ ตั้งแต่มาตรา 32 ถึงมาตรา 43

หลักการสำคัญที่จะไม่ถึอว่ากรณีต่าง ๆ ที่เข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ซึ่งมีเงื่อนไข 2 ประการ ได้แก่

ประการแรก การใช้งานลิขสิทธิ์นั้นต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์

ประการที่สอง การใช้งานลิขสิทธิ์นั้นต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฏหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร


สำหรับข้อยกเว้นที่ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในแต่ละกรณีที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการเขียนผลงานวิชาการ หรือรูปแบบอื่น ๆ ได้แก่

(1) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท

(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

(5) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว

(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

(7) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร

(8) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ

(9) การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

(10) การทำซ้ำโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุด ซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากการทำซ้ำนั้นมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร ดังต่อไปนี้

- การทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุดหรือให้แก่ห้องสมุดอื่น
- การทำซ้ำงานบางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการวิจัยหรือการศึกษา




ความปลอดภัยของข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต



ระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต


Firewall
มีหน้าที่ป้องกันการโจมตีหรือสิ่งไม่พึงประสงค์บุกรุคเข้าสู่ระบบ Network ซึ่งเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยภายในระบบ Network เป็นการป้องกันโดยใช้ระบบของ Firewall กำหนดกฏเกณฑ์ควบคุมการเข้า-ออก หรือควบคุมการรับ-ส่งข้อมูล ในระบบ Network

ทำไมต้องมีการติดตั้ง Firewall




ปัจจุบันการเข้าถึงข้อมูลสำคัญในองค์กรสามารถเข้าถึงได้โดยผ่านเครือข่ายต่างๆเช่น Internet หรือเครือข่ายส่วนตรัวเสมือน นอกจากบุคคลากรในองค์กรแล้วผู้ไม่หวังดีต่างๆย่อมต้องการลักลอบหรือโจมตีเพื่อให้เกิดความเสียหายได้เช่นกันดังนั้น Firewall จึงมีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบันโดยหน้าที่ของ Firewall ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาและรวมเอาความสามารถหลายๆอย่างเข้ามาด้วย ตัวอย่างหน้าที่ ที่สามารถทำได้เช่น
ป้องกันการโจมตีด้วยยิง Traffic
ป้องกันไม่ให้เข้าถึงช่องโหว่ที่อาจมีขึ้นที่ server ต่างๆ
ป้องกันไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลจากบุคคลากรภายใน
ควบคุมการใช้งานเฉพาะโปรแกรมที่ต้องการ
เก็บ log เพื่อพิสูจน์ตัวตน




Log server
ทำไมเราถึงต้องเก็บ log
เนื่องจากโลก Internet เป็นสิ่งที่สามารถปลอมแปลงชื่อหรือตัวตนแยกจากโลกความเป็นจริงได้ ทำให้เกิดปัญหาไม่สามารถหาผู้กระทำความผิดได้ในกรณีที่เกิดปัญหาต่างๆ จึงได้จัดตั้ง พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่ได้เล็งเห็นถึงโทษที่เกิดจากภัยคุกคาม บนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งทุกองค์กรจะต้องมีการเก็บ log ที่สามารถตรวจสอบและโยงไปสู่ผู้กระทำผิดได้



VPN
ในอดีตการเชื่อต่อสาขาแต่ล่ะที่เข้าด้วยกันจำเป็นต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันมีเทคโนโลยี VPN เข้ามาช่วยทำให้เสมือนแต่ล่ะสาขาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน สิ่งที่ VPN ทำนั้นจะสร้างท่อเชื่อมกันระหว่างสองสาขาและส่งข้อมูลผ่านท่อที่สร้างขึ้น client ที่จะใช้งานข้ามสาขาไม่จำเป็นต้องปรับแต่งเพื่อให้ใช้งาน vpn และสามารถที่จะใช้งานได้ทันทีที่มีการเชื่อมต่อ vpn media หนึ่งที่รองรับการทำงานด้วย vpn คือ internet


Web Filtering
เป็นบริการที่ช่วยให้ธุรกิจหรือองค์กรควบคุมพฤติกรรมในการเข้าใช้อินเทอร์เน็ตจากในองค์กร และให้เหมาะสมกับนโยบายและลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้งานที่ไม่จำเป็นต่อองค์กรและไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายกับ Internet bandwidth ในการใช้งานเว็บไซต์ที่ไม่จำเป็น หรือในกรณีที่ต้องการควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ตให้เหมาะกับกลุ่มผู้ใช้ในองค์กร
ทั้งเป็นการประหยัดเวลาของผู้ดูแลระบบ หรือ IT Manager ในการ add block list ที่ router หรือ proxy ซึ่งจะช่วยกรองและบล็อคเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ต้องการให้เข้าไปใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น องค์กรต้องการบล็อคเว็บไซต์ที่ไม่พึงประสงค์ เพื่อการบริหารจัดการ การใช้ช่องสัญญาณอินเทอร์เน็ตภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น




ANTI-VIRUS
(Virus) หรือ ไวรัสคอมพิวเตอร์ ถือเป็นปัญหาหนึ่งที่สร้างความเสียหายมากที่สุดให้กับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับ PC จนถึง ระดับ Network ที่มีขนาดใหญ่ โดยมีการโจมตีแบบ phishing ไวรัส สแปม และอื่นๆ อีกมากมายซึ่งทำให้เกิดผลกระทบและสร้างความเสียหายให้กับคอมพิวเตอรืส่วนบุคคลและผู้ประกอบธุรกิจ จึงควรมีการรักษาความปลอดภัย ที่จะช่วยปกป้องข้อมูลและระบบของคุณให้ปลอดภัยจากการคุกคามบนอินเทอร์เน็ต




ที่มา : http://www.optimized.co.th/th/products/internet_security.php

รูปแบบของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์


อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ


          อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber-Crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น “อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์” หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรง

ในการประชุมสหประชาชาติครั้งที่ 10 ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด (The Tenth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 10-17 เมษายน 2543 ได้มีการจำแนกประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต, การสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การก่อกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย, การยับยั้งข้อมูลที่ส่งถึง/จากและภายในระบบหรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และการจารกรรมข้อมูลบนคอมพิวเตอร์

โครงการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (Cyber-Crime and Intellectual Property Theft) พยายามที่จะเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล และค้นคว้าเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 6 ประเภท ที่ได้รับความนิยม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขอบเขตและความซับซ้อนของปัญหา รวมถึงนโยบายปัจจุบันและความพยายามในการปัญหานี้

อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าวได้แก่

การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)

การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์

การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)

การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว

ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง

ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด


ที่มา : http://www.microsoft.com/thailand/piracy/cybercrime.aspx

กลุ่มอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

 1.Novice คือ เป็นพวกเด็กหัดใหม่(newbies)ที่เพิ่งเริ่มหัดใช้คอมพิวเตอร์มาได้ไม่นาน หรืออาจหมายถึงพวกที่เพิ่งได้รับความไว้วางใจให้เข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  

 2.Darnged person คือ พวกจิตวิปริต ผิดปกติ มีลักษณะเป็นพวกชอบความรุนแรง และอันตราย มักเป็นพวกที่ชอบทำลายทุกสิ่งที่ขวางหน้าไม่ว่าจะเป็นบุคคล สิ่งของ หรือสภาพแวดล้อม

  3.Organized Crime คือ พวกนี้เป็นกลุ่มอาชญากรที่ร่วมมือกันทำผิดในลักษณะขององค์กรใหญ่ๆ ที่มีระบบ พวกเขาจะใช้คอมพิวเตอร์ที่ต่างกัน โดยส่วนหนึ่งอาจใช้เป็นเครื่องหาข่าวสาร เหมือนองค์กรธุรกิจทั่วไป อีกส่วนหนึ่งก็จะใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นตัวประกอบสำคัญในการก่ออาชญากรรม หรือใช้เทคโนโลยีกลบเกลื่อนร่องร่อย ให้รอดพ้นจากเจ้าหน้าที่

  4.Career Criminal คือ พวกอาชญากรมืออาชีพ เป็นกลุ่มอาชญากรคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่มาก กลุ่มนี้น่าเป็นห่วงมากที่สุด เนื่องจากนับวันจะทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยจับผิดแล้วจับผิดเล่า บ่อยครั้ง

  5. Com Artist คือ พวกหัวพัฒนา เป็นพวกที่ชอบความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนตน อาชญากรประเภทนี้จะใช้ความก้าวหน้า เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และความรู้ของตนเพื่อหาเงินมิชอบทางกฎหมาย

  6.Dreamer พวกบ้าลัทธิ เป็นพวกที่คอยทำผิดเนื่องจากมีความเชื่อถือสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างรุนแรง

  7. แฮกเกอร์ (hacker) หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ความสามารถมากทางด้านคอมพิวเตอร์ และใช้ความรู้ในการหาจุดบกพร่องของระบบคอมพิวเตอร์ และเครือข่าย เพื่อทำการป้องกัน และแก้ไข ปัจจุบันเรามักใช้คำว่าแฮกเกอร์ในความหมายของแครกเกอร์
ดังนั้น hacker จึงได้รับความรู้ขั้นสูงเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการและ programming languages พวกเขาอาจรู้จุดอ่อนภายในระบบและที่มาของจุดอ่อนนั้น hacker ยังคงค้นหาความรู้เพิ่มเติม อย่างต่อเนื่อง แบ่งปันความรู้ที่พวกเขาค้นพบ และไม่เคยคิดทำลายข้อมูลโดยมีเจตนา


  8. แครกเกอร์ (Cracker) คือ ผู้ที่มีความรู้ความสามารถมากทางด้านคอมพิวเตอร์ แต่ใช้ความรู้ในการหาจุดบกพร่องของระบบคอมพิวเตอร์ และเครือข่าย เพื่อทำการโจมตี และสร้างความเสียหาย
cracker เมื่อบุกรุกเข้าสู่ระบบ จะทำลายข้อมูลที่สำคัญ ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออย่างน้อยทำให้เกิดปัญหาในระบบคอมพิวเตอร์ของเป้าหมาย โดยกระทำของ cracker มีเจตนามุ่งร้ายเป็นสำคัญ คำจำกัดความเหล่านี้ถูกต้องและอาจใช้โดยทั่วไปได้




ที่มา : http://atitaya.igetweb.com/articles/486667/กลุ่ม-5-กฎหมายเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต.html



1. ความหมายของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


           เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้




ที่มา :  http://th.wikipedia.org/wiki/อินเทอร์เน็ต

2. ความเป็นมาของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

      อินเตอร์เน็ต มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (Arp Anet เรียกสั้น ๆ ว่า อาร์พา) ที่ตั้งขึ้นในปี 2512 เป็นเครือข่ายคอมพิวเคอร์ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่ใช้ในงานวิจัยด้านทอินเตอร์เน็ต มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (Arp Anet เรียกสั้น ๆ ว่า อาร์พา) ที่ตั้งขึ้นในปี 2512 เป็นเครือข่ายคอมพิวเคอร์ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่ใช้ในงานวิจัยด้านทหาร (ARP : Advanced Research Project Agency) 

มาถึงปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พามาเป็นดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency: DARPA) และในที่สุดปี 2518 อาร์พาเน็ตก็ขึ้นตรงกับหน่วยการสื่อสารของกองทัพ (Defense Communication Agency) 

ในปี 2526 อาร์พาเน็ตก็ได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Millitary Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้ โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet) เป็นครั้งแรก 

ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNETและพอมาถึงปี 2533 อาร์พารองรับภาระที่เป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของระบบไม่ได้ จึงได้ยุติอาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายขนาดมหึมา จนถึงทุกวันนี้ และเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากถึง 50,000 เครือข่ายทีเดียว และคาดว่า ภายในปี 2543 จะมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งโลกประมาณ 100 ล้านคน หรือใกล้เคียงกับประชากรในโลกทั้งหมด 

สำหรับประเทศไทยนั้น อินเตอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530-2535 โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2535และ ในปี 2538 ก็มี การเปิดให้ บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ (รายแรก คือ อินเตอร์เน็ตเคเอสซี) ซึ่งขณะนั้น เวิร์ลด์ไวด์เว็บกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา 

อย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น เน็ต (Net) หรือ The Net ด้วยเช่นเดียวกัน อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเตอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World – Wide Web) (จริง ๆ แล้ว เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่บริการนี้ ถือว่าเป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด 

หาร (ARP : Advanced Research Project Agency) 

มาถึงปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พามาเป็นดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency: DARPA) และในที่สุดปี 2518 อาร์พาเน็ตก็ขึ้นตรงกับหน่วยการสื่อสารของกองทัพ (Defense Communication Agency) 

ในปี 2526 อาร์พาเน็ตก็ได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Millitary Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้ โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet) เป็นครั้งแรก 

ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNETและพอมาถึงปี 2533 อาร์พารองรับภาระที่เป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของระบบไม่ได้ จึงได้ยุติอาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายขนาดมหึมา จนถึงทุกวันนี้ และเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากถึง 50,000 เครือข่ายทีเดียว และคาดว่า ภายในปี 2543 จะมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งโลกประมาณ 100 ล้านคน หรือใกล้เคียงกับประชากรในโลกทั้งหมด 

สำหรับประเทศไทยนั้น อินเตอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530-2535 โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2535และ ในปี 2538 ก็มี การเปิดให้ บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ (รายแรก คือ อินเตอร์เน็ตเคเอสซี) ซึ่งขณะนั้น เวิร์ลด์ไวด์เว็บกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา 

อย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น เน็ต (Net) หรือ The Net ด้วยเช่นเดียวกัน อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเตอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World – Wide Web) (จริง ๆ แล้ว เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่บริการนี้ ถือว่าเป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด 




ที่มา : http://www.bcoms.net/article/historyinternet.asp

3. ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

         อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัทอินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย




ที่มา :  http://th.wikipedia.org/wiki/อินเทอร์เน็ต


4. อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกันได้อย่างไร

เนื่องจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเหมือนร่างแหที่แผ่ไปทั่ว จึงมีจุดที่จะเชื่อมต่อเข้ามาได้มากมายโดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่เดิม ซึ่งผู้ที่รับการเชื่อมต่อก็จะต้องลงทุนอุปกรณ์เครื่องมือรวมถึงค่าสัมปทานจากรัฐ (ขึ้นกับกฎหมายของแต่ละประเทศ ) จึงต้องคิดค่าบริการจากคนที่มาต่อผ่านตามสมควร ผู้ให้บริการเชื่อมต่อนี้ก็คือ ISP นั่นเอง ซึ่งแต่ละรายก็เก็บค่าบริการไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการเชื่อมต่อและเงื่อนไขบริการแก่คนอื่นๆ ฯลฯหรือบางรายก็ให้บริการฟรีแก่ลูกค้า เช่น สถาบันการศึกษาทำตัวเป็น ISP ให้นักศึกษาในสังกัดใช้อินเทอร์เน็ตฟรี หรือบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น ให้บริการอินเทอร์เน็ตฟรีแก่ลูกค้าที่ใช้หมายเลขโทรศัพท์ของตน เป็นต้น
        สำหรับ ISP เองนั้นก็ต้องเชื่อมต่อกันเป็นทอดๆ เพื่อหาช่องทางที่จะเข้าสู่อินเทอร์เน็ตให้เหมาะกับลักษณะธุรกิจของตน เช่น ISP รายย่อยในต่างจังหวัดต่อเข้ามาผ่านISP รายใหญ่ในกรุงเทพหรือ ISP ในประเทศต่อออกไปที่ ISP ใหญ่ในต่างประเทศ โดยมีการเก็บค่าบริการกันเป็นทอดๆแล้วแต่ว่าใครจะต่อกับใคร จะต่อหลายทางพร้อมๆกันเพื่อเพิ่มความเร็วและเป็นช่องทางสำรองก็ได้ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งการดำเนินงานของ ISP ในต่างประเทศเองก็ไม่ผูกขาด เพราะมีทำกันหลายๆรายและหากมีลูกค้าผู้ใช้งานมากพอก็อาจมีผู้ลงทุนตั้ง ISP รายใหม่ วางสายและสร้างเครือข่ายเพิ่มได้อีก
ถ้าต่อผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา ก็ต้องมีโมเด็ม (Modem) ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์แล้วเอาสายโทรศัพท์มาต่อเข้าไปอีกทีหนึ่ง หรือถ้าเป็นโทรศัพท์แบบ ISDN (Integrated Services Digital Network) ก็ต้องใช้โมเด็ม ISDN โดยเฉพาะแทน

• ถ้าต่อผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา ก็ต้องมีโมเด็ม (Modem) ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์แล้วเอาสายโทรศัพท์มาต่อเข้าไปอีกทีหนึ่ง หรือถ้าเป็นโทรศัพท์แบบ ISDN (Integrated Services Digital Network) ก็ต้องใช้โมเด็ม ISDN โดยเฉพาะแทน





• ถ้าต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่เรียกว่า ADSL หรือบรอดแบนด์ (broadband) ก็ต้องมีโมเด็มชนิด ADSL ที่ต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับสายโทรศัพท์เช่นเดียวกัน แต่รับส่งสัญญาณในสายคนละแบบ คนละความถี่กัน ทำให้ได้ความเร็วสูงขึ้นกว่าโมเด็มธรรมดา แต่ต้องมีอุปกรณ์พิเศษที่ชุมสายด้วยจึงจะใช้ได้




Ultra hi-speed Internet (Docsis): อินเทอร์เน็ตผ่านสายเคเบิ้ล 

เป็นการส่งสัญญาณข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย โดยใช้สายนำสัญญาณ คือ สายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) และสายโคแอคเชียล มาทำงานร่วมกัน โดยจะเรียกระบบนี้ว่า HFC หรือ Hybrid Fiber Coaxial Network 

ความสามารถของเคเบิ้ล โมเด็ม (Cable Modem) จะมีความสามารถดาวน์โหลด และอัพโหลดข้อมูลได้สูง และไม่มีปัญหาของสายหลุดในระหว่างการใช้งานเพราะ Cable Modem จะเป็นการเชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลา

ข้อดีของ Ultra hi-speed Internet (Docsis)

ไม่ต้องเสียค่าเช่าคู่สาย ไม่เสียค่าโทรศัพท์ในการเชื่อมต่อแต่ละครั้ง เพราะไม่ต้องใช้สายโทรศัพท์
ระยะทางไม่มีผลต่อความเร็ว และสามารถเลือกสมัครได้ทุกความเร็วที่เปิดให้บริการ 
ความเร็วคงที่ และสามารถรองรับความเร็วได้ถึง 400 Mbps.
สามารถใช้งาน  Ultra hi-speed Internet (Docsis) และ TVS CATV  ได้พร้อมกัน ในสายเส้นเดียวกัน
รองรับ VDO Streaming ในรูปแบบ HD video 
มีความเสถียร ทั้งการดาวน์โหลดและอัพโหลด
รับและส่งไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว 
รองรับ Application ที่ต้องการ Bandwidth สูง โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้าน Multimedia ,VDO Conference
การเชื่อมต่อเป็นแบบ Always On
สามารถประยุกต์ใช้สำหรับการรักษาความปลอดภัย โดยใช้ IP Camera
ประหยัด และควบคุมค่าใช้จ่ายได้ ด้วยค่าบริการแบบเหมาจ่ายรายเดือน ไม่จำกัดชั่วโมงการใช้งาน



 Fiber Optic หรือใยแก้วนำแสงคือสายนำสัญญาณข้อมูลในระบบเครือข่ายที่สามารถรับส่งข้อมูลได้ไกลหลายๆกิโลเมตร 
และมีการสูญเสียของสัญญาณน้อยมาก  รองรับการส่งข้อมูลที่มีปริมาณมากมายมหาศาลได้  Fiber  Optic  ถูกใช้แพร่หลาย
ในโครงข่ายการส่งข้อมูลความเร็วสูง เช่น ระบบเอสดีเอช (SDH)  หรือระบบโซเน็ท (SONET), ระบบเส้นใยนำแสงสู่บ้าน 
(Fiber To The Home: FTTH) เป็นต้น

        การสื่อสารผ่านใยแก้วนำแสง เป็นระบบการสื่อสารที่ใช้แสงผสมกับข้อมูลที่ต้องการส่งในรูปแอนาลอกหรือแบบดิจิตอล 
แล้วจึงส่งผ่านตัวกลางคือใยแก้วเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเล็กมากมีเส้นผ่าศูนย์กลางเป็น ไมครอน ซึ่งมีขนาดเล็กมากทำให้สายเคเบิล
1 เส้นสามารถรวมเอาสายสัญญาณหลายเส้นเข้าด้วยกัน แสงจะถูกส่งผ่านไปยังตัวรับคือโฟโตดีเทคเตอร์เพื่อแปลผลค่าสัญญาณ
จากแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า แล้วใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์แปรผลเป็นข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง การสื่อสารผ่านเส้นใยนำแสงมีจุดเด่นคือสามารถ
ส่งสัญญาณหลายๆช่องไปได้พร้อมๆกัน โดยใช้เทคนิคการผสมสัญญาณ (Multiplexing) ที่นิยมใช้คือการทำ WDM (Wavelength Divison Multiplexing) เป็นการส่งสัญญาณแต่ละช่องด้วยแสงที่มีความยาวคลื่นต่างกัน ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้มากมหาศาล เมื่อเทียบกับ
การสื่อสารผ่านสายทองแดงแบบเดิม ให้พิจารณาเป็นเบื้องต้นดังนี้

      1. ใช้ส่งข้อมูลข้ามทวีป  ผ่านเคเบิลใยแก้วใต้น้ำ เนื่องจากมีการสูญเสียสัญญาณต่ำกว่าสัญญาณสัญญาณไฟฟ้า ทำให้ใช้ตัวทวนสัญญาณ
น้อย ส่งสัญญาณได้ระยะทางไกล ความคุ้มค่าสูง

      2. ส่งข้อมูลได้มหาศาลในเวลาเดียวกันเมื่อเทียบกับการสื่อสารผ่านสายทองแดง เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารแสงมีความผิดเพี้ยนของสัญญาณต่ำเมื่อทำการรวมกันของข้อมูลหลายๆช่องสัญญาณ

      3. ไม่มีผลกระทบจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถติดตั้งได้ในบริเวณที่มีไฟฟ้าแรงสูง หรือฟ้าผ่าเกิดขึ้นบ่อยครั้ง

      4. ข้อมูลรั่วไหลได้ยาก การลักลอบขโมยสัญญาณจากระบบใยนำแสงทำได้ยาก

คุณสมบัติของ Fiber Optic

-  Fiber Optic ภายในทำจากแก้วที่มีความบริสุทธิ์สูงมาก

-  มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเท่าเส้นผมของคนเรา

-  รับส่งสัญญาณได้ระยะไกลมากเป็นกิโลเมตร

-  ต้องใช้ผู้ชำนาญ และเครื่องมือเฉพาะในการเข้าหัวสัญญาณ

-  ราคาแพงหลายเท่า เมื่อเทียบกับสายแลนประเภท CAT5 




       เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับระบบโทรศัพท์ได้แล้วก็ค่อยหมุนหมายเลขปลายทางไปยัง ISP อีกทอดหนึ่ง การเชื่อมต่อแบบนี้เรียกว่าแบบ Dial-up คือต้องหมุนโทรศัพท์เพื่อจะเชื่อมต่อแต่ละครั้ง พอเลิกใช้ก็วางสาย ต่างกับเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ ซึ่งจะต้องต่อกับ ISP รายใดรายหนึ่งตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะไม่รู้วส่าเมื่อไหร่จะมีคนเข้ามาเรียกดูข้อมูลหรือใช้หริการ ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้มักใช้สายความเร็วสูง เช่นสาย LAN เดินตรงถึงกัน เพราะได้ความเร็วสูงแต่ก็ต้องเอาเครื่องของเราไปไว้ในสถานที่เดียวกับเครื่องของ ISP หรือเรียกว่าการ “ตั้งเครื่องไว้ที่เดียวกัน” (Co-location) หรือไม่ก็เอาข้อมูลทั้งหมดของเว็บไซต์นั้นไปไว้บนเครื่องเดียวกับทาง ISP หรือเครื่องที่ทาง ISP จัดให้เลย ที่เรียกว่า “การรับฝากเว็บ” หรือ Web hosting นั่นเอง ซึ่งทั้งสองแบบนี้เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา และมีค่าใช้จ่ายแพงกว่าการต่อเป็นครั้งคราวแบบ Dial-up ของผู้ใช้ทั่วไป



ที่มา : http://www.ipesp.ac.th/learning/071001/chapter6/UN6_4.html
http://www3.truecorp.co.th/cm/support_content/1297
http://www.peoplefu.com/index.php?option=com_content&view=article&id=83:fiber-optic&catid=9

5. ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

    ในปัจจุบันมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลายไปทั่วทุกมุมโลก แต่ละคนก็ใช้ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตไปในหลายด้านต่างๆมากมายในชีวิตประจำวันของเรา ทั้งด้านการศึกษา เชิงพาณิชย์ ธุรกรรม ความบันเทิง และอื่นๆ วันนี้เราจะมากล่าวถึงประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตในแต่ละด้าน ดังต่อไปนี้

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต – ด้านการศึกษา


• เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆที่เราสนใจ เป็นต้น
• ทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ หรือคลังหนังสือมหาศาล
• นักเรียน และนักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับโรงเรียน และมหาวิทยาลัยอื่นๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความ เสียง และภาพเคลื่อนไหวต่างๆ
• ทำการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้


ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต – ด้านธุรกิจและเชิงพาณิชย์


• เป็นแหล่งค้นหาข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
• สามารถซื้อ – ขายสินค้าผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
• บริษัทหรือองค์กรต่างๆสามารถให้บริการและสนับสนุนลูกค้าผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ ตอบปัญหาต่างๆให้แก่ลูกค้า เป็นต้น
• ทำการตลาด การโฆษณาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต – ด้านความบันเทิง
• ค้นหา Magazine o¬nline รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆได้
• ฟังวิทยุผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
• สามารถดึงดาวน์โหลด (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่และเก่ามาดูได้


นอกจากนี้ยังมีประโยชน์มีความสำคัญในรูปแบบอื่นๆอีก
1. ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email) ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเหมือนกับการส่งจดหมายแบบเดิมๆ แต่การส่งอีเมล์จะรวดเร็วกว่ามาก
2. โอนถ่ายข้อมูล ค้นหา และเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพ และเสียง
3. ค้นข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่มากมายจากแหล่งข้อมูลต่างๆทั่วโลกได้ ผ่าน World wide Web
4, สื่อสารด้วยข้อความ Chat เป็นการพูดคุยโดยพิมพ์ข้อความตอบกัน การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้อยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม




ที่มา: http://www.hitechsky.com/ประโยชน์ของอินเทอร์เน็/

6. บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต

1. เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) หรือเครือข่ายใยแมงมุม เหตุที่เรียกชื่อนี้เพราะว่าเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงข้อมูล จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเรื่อยๆ เวิลด์ไวด์เว็บเป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในการเรียกดูเว็บไซต์ต้องอาศัยโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ในการดูข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น โปรแกรม Internet Explorer (IE) , Netscape Navigator



2. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การติดต่อสื่อสารโดยใช้อีเมลสามารถทำได้โดยสะดวก และประหยัดเวลา หลักการทำงานของอีเมลก็คล้ายกับการส่งจดหมายธรรมดา นั่นคือ จะต้องมีที่อยู่ที่ระบุชัดเจน ก็คือ อีเมลแอดเดรส (e-mail address)
องค์ประกอบของ e-mail address ประกอบด้วย
- ชื่อผู้ใช้ (User name)
- ชื่อโดเมน
Username@domain_name
การใช้งานอีเมล สามารถแบ่งได้ดังนี้
2.1 Corporate e-mail คืออีเมลที่หน่วยงานต่างๆ สร้างขึ้นให้กับพนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น เช่น u47202000@dusit.ac.th คือ e-mail ของนักศึกษาของสถาบันราชภัฏสวนดุสิต เป็นต้น
2.2 Free e-mail คือ อีเมลที่สามารถสมัครได้ฟรีตาม web mail ต่างๆ เช่น Hotmail, Yahoo Mail, Thai Mail และ Chaiyo Mail




3. บริการโอนย้ายไฟล์ (File Transfer Protocol) เป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับการโอนย้ายไฟล์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต การโอนย้ายไฟล์สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
1. การดาวน์โหลดไฟล์ (Download File) คือการรับข้อมูลเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่จัดให้มีการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรี เช่น www.download.com
2. การอัปโหลดไฟล์ (Upload File) คือ การนำไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้ในเครื่องที่ให้บริการ (Server) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กรณีที่ทำการสร้างเว็บไซต์ จะมีการอัปโหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (Web server ) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่ (web server) โปรแกรมที่ช่วยในการอัปโหลดไฟล์เช่น FTP Commander



4. บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต (Instant Message) การสนทนาบนอินเทอร์เน็ต คือ การส่งข้อความถึงกันโดยทันทีทันใด นอกจากนี้ยังสามารถส่งสัญลักษณ์ต่างๆ อาทิ รูปภาพ ไฟล์ข้อมูลได้ด้วย การสนทนาบนอินเทอร์เน็ตเป็นโปรแกรมที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน โปรแกรมประเภทนี้ เช่น โปรแกรม ICQ (I seek you),MSN Messenger, Yahoo Messenger เป็นต้น



5. บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
5.1 Web directory คือ การค้นหาโดยการเลือก Directory ที่จัดเตรียมและแยกหมวดหมู่ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว web site ที่ให้บริการ web directory เช่น www.yahoo.com, www.sanook.com
5.2 Search Engine คือ การค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Search โดยการเอาคำที่เราต้องการค้นหาไปเทียบกับเว็บไซต์ต่างๆ ว่ามีเว็บไซต์ใดบ้างที่มีคำที่เราต้องการค้นหา web site ที่ให้บริการ search engine เช่น www.yahoo.com, www.sanook.com, www.google.co.th, www.sansarn.com
5.3 Metasearch คือ การค้นหาข้อมูลแบบ Search engine แต่จะทำการส่งคำที่ต้องการไปค้นหาในเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลอื่นๆ อีก ถ้าข้อมูลที่ได้มีซ้ำกันก็จะแสดงเพียงรายการเดียว เว็บไซต์ที่ให้บริการ Metasearch เช่น www.search.com, www.thaifind.com



6. บริการกระดานข่าว หรือเว็บบอร์ด (Web board) เว็บบอร์ดเป็นศูนย์กลางในการแสดงความคิดเห็น มีการตั้งกระทู้ ถาม-ตอบ ในหัวข้อที่สนใจ เว็บบอร์ดของไทยที่เป็นที่นิยมและมีคนเข้าไปแสดงความคิดเห็นมากมาย เช่น เว็บบอร์ดของพันธ์ทิพย์ (www.pantip.com) เป็นต้น



7. ห้องสนทนา (Chat Room) คือ การสนทนาออนไลน์อีกประเภทหนึ่ง ที่มีการส่งข้อความสั้นๆ ถึงกัน การเข้าไปสนทนาจำเป็นต้องเข้าไปในเว็บไซต์ที่ให้บริการห้องสนทนา เช่น www.sanook.com ,www.pantip.com




7. คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต

WebPage หมายถึง ข้อมูลที่เป็นอักษร เสียง และภาพต่างๆ ที่บรรจุในแฟ้มเอกสารแต่ละหน้าของเวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) ที่เปิดอ่านจากโปรแกรม Browser

Web site หมายถึง สถานที่ที่ WebPage อาศัยอยู่ โดยเข้าถึงด้วยชื่อ Domain Name เช่น www.swry.ac.th (เว็บไซด์ สว.รย.)

HomePage หมายถึง WebPage ที่อยู่หน้าแรกของ Web site ที่ใช้แฟ้มว่า index.html หรือ index.htm เสมอ

Web Browser โปรแกรมใช้ในการเข้าไปยังเว็บไซด์ต่างๆ ในโลก World Wide Web ของอินเทอร์เน็ต เช่น Netscape Navigator, Internet Explorer

Domain Name หมายถึงชื่อที่ใช้ประกาศความเป็นตัวตนบนโลกอินเทอร์เน็ต ถ้าชื่อลงท้ายด้วย .com ต้องมีการจดทะเบียนที่ www.internic.com แต่ถ้าเป็นพวก .co.th การจดทะเบียนที่ www.thnic.co.th

URL(Uniform Resouire Locator)  หมายถึง ที่อยู่ของข้อมูลบน WWW ซึ่งถ้าเราจะหาข้อมูล

IP (Internet Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับการสื่อสารแบบ TCP

TCP/IP (Transport Control Protocol/Internet Protocol) เป็น Protocol ตามมาตรฐานอตุสาหกรรมในการติดต่อสื่อสาร ทำให้ระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้

Protocol เป็นกฏระเบียบและข้อตกลงที่สถาบันต่างๆ กำหนดขึ้นมาเพื่อรองรับการสื่อสารระหว่างเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆ ให้สามารถสื่อสารและเข้าใจพูดคุยกันได้ เช่นที่นิยมใช้คือ TCP/IP เป็นต้น

ISP (Internet Service Provider)   คือผู้ให้บริการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ASP (Application Service Provider) คือผู้ให้บริการ Software หรือวิธีการใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องมี Software ของผู้ใช้เอง

IDC (Internet Data Center) คือผู้ให้บริการรับฝากเครื่อง Server และตระเตรียมสาธารณูปโภคในการทำธุรกรรมให้พร้อมสรรพ

E-Commerce (Elertronic Commerce) คือการทำธุรกรรม อะไรก็ได้โดยใช้สื่ออินเทอร์เน็ต

Hypertext คือเอกสารที่ทำการเชื่อมโยงต่อไปยังเอกสารอื่นๆ ทำให้สามารถอ่านได้หลายมิติ

Download คือการย้ายข้อมูลของคอมพิวเตอร์ที่ไกลออกไปมาไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ท้องถิ่น (Local) โดยทั่วไปหมายถึง การรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่อยู่ห่างไกลออกไป มาเครื่องอีกเครื่องหนึ่ง หรือเครื่องที่เรากำลังใช้งานอยู่ ซึ่งตรงข้ามกับ Upload

Upload เป็นการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ห่างไกลออกไป

POP (Post Office Protocal) ระบบที่ทำให้สามารถรับและดาว์นโหลด จดหมายจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ไปยังคอมพิวเตอร์ของเราเอง

Internet Address คือที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต จะประกอบไปด้วยชื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (User Name) และชื่อของอินเทอร์เน็ต (Internet Name) โดยมีรูปแบบ ดังนี้
ชื่อผู้ใช้@ชื่ออินเทอร์เน็ต
ตัวอย่าง เช่น webmaster@datatan.net หมายถึงผู้ใช้ชื่อ webmaster เป็นสมาชิกของศูนย์บริการหรือศูนย์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ชื่อว่า datatan.net

IP Address คือหมายเลขรหัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต โดยเลขนี้จะมีรหัสซ้ำกันไม่ได้ IP Address ประกอบไปด้วยตัวเลข 4 หลักที่คั่นด้วย เครื่องจุด (.) ตัวอย่างเช่น 203.155.35.2 เป็น IP Address ของเครื่อง internet.th.com

Mailing List คือ กลุ่มสนทนาที่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยใช้โปรแกรม E-mail ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน การเข้าร่วม Mailing List โดยสมัครสมาชิกแล้วจดหมายทุกฉบับที่ถูกส่งไปยัง List ก็จะถูกส่งไปให้ทุกคน ที่อยู่ใน List ได้อ่านกัน


Accountใช้สำหรับการสมัครสมาชิก ต่างๆ เราจะเจอคำว่า Account เพื่อเป็นการลงทะเบียนเป็นสมาชิก ผู้ให้บริการจะให้ user และ password เพื่อให้ใช้ในการเข้าสู่ระบบ ของเว็บนั้นๆ เราเรียกการเป็นสมาชิกระบบเครือข่ายนั้นว่า Account

Anonymous เป็นการสมัครสมาชิก ทำให้ผู้ที่ไม่มี Account สามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้ เพราะ Anonymous เป็น Username สากล โดยมี Password เป็น อีเมลแอดเดรสของคุณเอง ทำให้ไม่ว่าผู้ใดก็สามารถใช้ระบบเครือข่ายนั้นๆได้

ARRA คือ Advance Research Project Agency เป็นหน่วยงานเพื่อการค้นคว้าของ United states Deparment of Defense (DoD) ซึ่งเป็นผู้ที่วางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ต


Bandwidth เป็นคำที่ใช้วัดความเร็วในการส่งข้อมูลของอินเทอร์เน็ต ซึ่งโดยมากเรามักวัดความเร็วของการส่งข้อมูลเป็น bps (bit per second) , Mbp (bps*1000000) เช่น Bandwidth ของการใช้สายโทรศัพท์ในประเทศไทย เท่ากับ 14.4 Kbps,Bandwidth ของสายส่งข้อมูลของ KSC ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับอเมริกาเท่ากับ 2 Mbps เป็นต้น

BBS ย่อมาจากคำว่า Bulletin Board System เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีข้อมูลบรรจุอยู่ โดยผู้สนใจข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้โมเด็มเชื่อมต่อเข้ากับ BBS เพื่อดูข้อมูลเหล่านั้นได้

Bit คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สัญญาณดิจิตอลเป็นหลัก ดังนั้นจึงมีการมองค่าเป็น 0 หรือ 1 เท่านั้น โดยในแต่ละสัญญาณ 0 หรือ 1 แต่ละครั้งเราเรียกว่า 1 bit

Bitmap เป็นนามสกุลหนึ่งในการบันทึกภาพไว้

Browser เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการท่องโลกอินเทอร์เน็ต โดยโปรแกรม Broswer ที่รู้จักกันดีคือ Internet Explorer นั้นเอง

Cache เป็นตัวกลางในการพักข้อมูล โดยจะใช้งานก็ต่อเมื่อการส่งและรับข้อมูลไม่สอดคล้องกัน

DNS (Domain Name Service) คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีอยู่หลายล้านเครื่อง โดยที่แต่ละเครื่องจะถูกแทนด้วยหมายเลขที่เรียกว่า IP Address ซึ่งจะจำได้ยาก จึงมีการตั้งชื่อขึ้นมาแทน เช่น www.microsoft.com

Encode เป็นการเข้ารหัสเพื่อเข้าสู่ข้อมูล,การบีบอัดของข้อมูลหรืออื่นๆที่ทำให้ลักษณะของไฟล์เปลี่ยนไป

Gateway สำหรับเครือข่ายที่ไม่ใช้ TCP/IP แต่ต้องการที่จะเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายแบบ TCP/IP ซึ่งเป็นมาตรฐานของอินเทอร์เน็ต ต้องทำการเชื่อมต่อผ่าน Gateway

Gopher โกเฟอร์เป็นระบบเมนูที่มีหลากหลายลำดับชั้นที่ใช้ในการจัดส่งเอกสารในอินเทอร์เน็ตออกแบบโดยมหาวิทลัยมินิโซต้าโกเฟอร์เป็นระบบที่มีชื่อเสียงในแง่การออกแบบและการบำรุงรักษาที่ไม่ยุ่งยาก โดยมีการทำงานแบบไคลเอ็นต์เซิร์ฟเวอร์ ที่ยอมให้ผู้เข้าใช้ได้ง่ายโดยไม่ต้องมีไคลเอ็นต์ซอฟต์แวร์พิเศษ

Hypertext ไฮเปอร์เท็กซ์เป็นวิธีการสร้างการเชื่องโยงไปยังเอกสารอื่นจากเอกสารหนึ่งเมื่อผู้ใช้อ่านเอกสารที่มีการเชื่องดังกล่าวจะสามารถดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องขึ้นมาอ่านได้อย่างรวดเร็ว วิธีนี้เริ่มได้รับความนิยมในโปรแกรม Hypercard ของเครื่องแมคอินทอช

Host Computer เป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยที่คอมพิวเตอร์ในลักษณะนี้จะมีอยู่ที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต


HTTP ย่อมาจากคำว่า Hypertext Transfer Protocol เป็นโปโตคอลที่จำเป็นใน www โดยเรามักพบในบราวเซอร์ เช่นhttp://www.download.com

Internet NIC เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลของอินเทอร์เน็ต

NSFNET เป็นเครือข่ายความเร็วสูงที่ทำหน้าที่เป็น Backbone ของอินเทอร์เน็ตในสหรัฐอเมริกา


Pingเป็นคำสั่ง UNIX ซึ่งใช้ในการตรวจสอบว่า Host นั้นเปิดใช้งานหรือไม่

PPP ย่อมาจากคำว่า Point - to Point Protocol เป็นการเชื่อมต่อ PC กับอินเทอร์เน็ตโดยที่ไม่ต้องมี IP Address ที่ PC

Service Protocol ในอินเทอร์เน็ตมีบริการหลายชนิด การกรอกอินเทอร์เน็ตแอดเดรสลงในบราวเซอร์นั้น จึงมีการจำแนกว่าเป็นการให้บริการอะไร

File:/ / หมายถึง การเปิดไฟล์
ftp:/ / หมายถึง การใช้บริการ FTP
gophter:// หมายถึง การใช้บริการ gophter
http:// หมายถึง การใช้บริการ www
news:// หมายถึง การใช้บริการ newsgroup
tellnet:// หมายถึง การใช้บริการเครื่องระยะไกล

Signature เป็นข้อความเล็กๆที่ใส่ไว้ท้ายอีเมล์ เพื่อให้ผู้รับแน่ใจได้ว่าใครเป็นผู้ส่งมา

ZIP หมายถึงเทคนิคการบีบอัดข้อมูลให้มีขนาดของไฟล์เล็กลง




ที่มา : http://forum.datatan.net/index.php?topic=414.0
        http://news.thaiware.com/242-มารู้คำศัพท์_ที่สำคัญ_และน่ารู้_ในโลกอินเตอร์เน็ตกัน_.html