วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โปรโตคอลสำหรับการรับส่งอีเมล

การทำงานทั่วๆไปของอีเมล์โดยสรุปมีเพียง 2 ประเภท คือการส่งอีเมลล์ และการรับอีเมลล์ โดย    โปรโตคอล SMTP(Simple Mail Transfer Protocol) จะใช้จะที่User agent ส่งอีเมลล์มาที่MTA (เฉพาะแบบoffline)และใช้ขณะรับและส่งอีเมล์ระหว่างMTA(Mail Transfer Agent) ด้วยกัน สำหรับการใช้เมล์แบบ offline คือเครื่องที่ผู้ใช้ใช้อ่านเมล์ไม่ได้ต่อกับเครื่องที่มีเมลล์บ็อกซ์ตลอดเวลา อาจเลือกดาวน์โหลดเมล์มาเก็บไว้ที่เครื่องของตัวเอง โดยจะมีโปรโตคอลที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 แบบ คือ โปรโตคอลPop(Post Office Protocol) และIMAP(Internet Message Access Protocol) ซึ่งจะทำหน้าที่ดาวน์โหลดหรืออัพโหลดอีเมล์จากเครื่องของผู้ใช้ไปยังเครื่องที่มีMTA อยู่


องค์ประกอบและโปรโตคอลต่างๆที่ใช้งานอยู่ในระบบการทำงานของอีเมลล์




POP3(Post Office Protocol)

POP เป็นโปรโตคอลที่ทำหน้าที่โหลดอีเมลล์มาจากMTA ไปยัง User Agent ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนามาจนถึงเวอร์ชั่นที่3 แล้ว โปรโตคอลนี้เป็นตัวแรกที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้รับอีเมล์ และเพื่อให้สนับสนุนการทำงานในแบบoffline โดยจะติดต่อเข้าไปยังเมล์เซิร์ฟเวอร์แล้วดาวน์โหลดอีเมล์ทั้งหมดมาไว้ที่ User Agent จากนั้นจะลบอีเมล์ที่เซิร์ฟเวอร์นั้นทิ้งไป เพื่อป้องกันการดาวน์โหลดซ้ำ แต่ผู้ใช้จะทำงานแบบOnline กับ เซิร์ฟเวอร์ไม่ได้ เนื่องจากการอ่านอีเมล์จะดึงอีเมล์ที่เก็บไว้ในUser Agent ขึ้นมาให้อ่านหลังจากที่ดาวน์โหลดมาเก็บไว้ ซึ่งในขณะนั้นอาจจะไม่ได้ออนไลน์อยู่กับเน็ตเวิร์กก็ได้

โปรโตคอลของPOP3 จะทำงานในแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ คือมีโปรแกรมPOP server ในเมล์เซิร์ฟเวอร์ และPOP Client ในเครื่องผู้รับ ซึ่งปกติจะฝังอยู่ในโปรแกรมที่เป็นUser Agent เลย โปรแกรมทั้งสองจะติดต่อกันโดยใช้ชุดคำสั่งที่เป็นรหัสASCII

การทำงานของPOP3 จะทำงานร่วมกับโปรโตคอลTCP โดยทั่วไปจะใช้พอร์ต 110 ในการติดต่อ ขั้นตอนการทำงานของPOP3 จะมี3สถานะคือ

1.สถานะขออนุมัติ –เมื่อเริ่มต้นติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์จะเป็นการเข้าสู่สถานะการขออนุมัติ โยไคลเอนต์จะต้องแจ้งชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน(Password) เพื่อขออนุมัติจากเซิร์ฟเวอร์ก่อน โดยไคลเอนต์จะใช้คำสั่งUSER เพื่อระบุชื่อผู้ใช้ หรือคำสั่ง PASS เพื่อกำหนด Password แต่ในกรณีที่ชื่อและ Password ถูกเข้ารหัสไว้ และไม่ได้เป็นค่าASCII ทั่วไปไคลเอนต์จะใช้คำสั่ง APOP ทำงานแทนคำสั่ง USER และ PASS

2.สถานะรับส่งรายการ - หลังจากที่ได้รับอนุมัติจากเซิร์ฟเวอร์แล้ว ก็จเข้าสู่สถานะที่ใช้คำสั่งในการทำงานต่างๆ

3.สถานะปรับปรุงข้อมูล – เมื่อ User Agent เลิกใช้งานด้วยคำสั่งQUIT ของPOP3 เซิร์ฟเวอร์ก็จะเข้าสู่สถานะปรับปรุงข้อมูล เพื่อลบอีเมล์ที่ดาวน์โหลดเรียบร้อยแล้วออกไป จากนั้นก็จะเข้าสู่สถานะขออนุมัติใหม่โดยอัตโนมัติ เพื่อรอรับการทำงานครั้งต่อไป

 

ที่มา : http://wich246.tripod.com/pop3.htm

รูปแบบของอีเมล และอีเมลแอดเดรส

E-mail address : ที่อยู่การส่ง E-mail
  • @ domain name
  • ต้องไม่มี  ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่,  เว้นวรรค
  • มีส่วนประกอบ 3 ส่วน

    • Username : ชื่อผู้ใช้
    • เครื่องหมาย : @  เรียกว่า assign  อ่านออกเสียงว่า “at”
    • domain name : ชื่อสถานีรับ-ส่ง E-mail
E-mail คือ จดหมาย ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ บางแห่งใช้เฉพาะภายใน บางแห่งใช้เฉพาะภายนอกองค์กร (สาหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ Internet) การใช้งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรม Word จากนั้นก็คลิกคาสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่าEmail Address เป็นหลักในการรับส่ง





ที่มา : http://mypondd09.wordpress.com/2013/12/02/รูปแบบของอีเมลและอีเมล/

ประเภทของอีเมล

อี-เมล์ (E-mail) ย่อมาจาก Electronic mail (แปลว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์) หมายถึงการสื่อสารหรือการส่งข้อความ โน้ต หรือบันทึกออกจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ผ่านไปเข้าเครื่องปลายทาง (Terminal) หรือเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งโดยส่งผ่านทางระบบเครือข่าย (Network) ผู้ส่งจะต้องมีเลขที่อยู่ (E-mail address) ของผู้รับ และผู้รับก็สามารถเปิดคอมพิวเตอร์เรียกข่าวสารนั้นออกมาดูเมื่อใดก็ได้ โดยปกติ จะไม่มีการพิมพ์ข้อความหรือข่าวสารนั้นลงแผ่นกระดาษ นับว่าเป็นการประหยัดกระดาษไปได้ส่วนหนึ่ง โดยทั่วไป ถือกันว่าเป็นงานส่วนหนึ่งของสานักงานอัตโนมัติ (Office automation) ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอันมาก
E-mail คือ จดหมาย ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ บางแห่งใช้เฉพาะภายใน บางแห่งใช้เฉพาะภายนอกองค์กร (สาหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ Internet) การใช้งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรม Word จากนั้นก็คลิกคาสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่า Email Address เป็นหลักในการรับส่ง
ประเภทของ e-mail

e-mail มี  3  ประเภท  คือ

1. POP  (Post Office Protocol Version) POP จะมีการทำงานในแบบที่เรียกว่า Offline Model กล่าวคือเวลาทำงาน E-mail Client จะเชื่อมต่อกับ Mail Server จากนั้นจะ Download และลบ E-mail ออกจาก Server หรือ Download เพียงอย่างเดียวแล้วทิ้ง E-mail ไว้บน Server ภายหลังจากที่ E-mail ถูก Download มาที่เครื่อง Client เรียบร้อยแล้ว Client จะตัดการเชื่อมต่อออกจาก Server หลังจากนั้น E-mail จะถูก Process ที่เครื่อง Client ทั้งหมด ข้อได้เปรียบของการทำงานแบบนี้ก็คือ Client แต่ละเครื่องใช้เวลาในการเชื่อมต่อกับเครื่อง Mail Server น้อยมากอีกทั้งยังต้องการเนื้อที่เก็บ E-mail บน Server น้อยด้วยเช่นกัน แต่ข้อเสียก็คือไม่สามารถอ่าน E-mail จาก Client เครื่องอื่นได้อีกหากว่าเรา Set ให้ลบ Mail บน Server หลังจาก Download เสร็จ หรือ ไม่สามารถบอกได้ว่า Mail ฉบับไหนเคยอ่านไปแล้วบ้าง หากเรา Set ค่าแบบ ให้ทิ้ง E-mail ไว้บน Server อีกประการหนึ่งคือเครื่อง Client จะต้องมีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากเป็นผู้ Process E-mail ด้วยตนเอง

2. IMAP  (Internet Message Access Protocol Version) IMAP จะมีการทำงานในแบบที่เรียกว่า Online Model ผสานกับ Disconnected Model กล่าวคือ การจัดการและการ Process E-mail ทั้งหมดจะถูกจัดการที่ Server เพียงอย่างเดียว Client มีหน้าที่เพียงแค่อ่าน E-mail หรือส่งคำสั่งไป Process E-mail บน Server เท่านั้น แบบนี้มีข้อดีก็คือท่านสามารถอ่าน E-mail จากที่ใดก็ได้ เนื่องจาก E-mail จะถูกเก็บอยู่ใน Server เสมอ และจะมีสถานะบอกด้วยว่า E-mail ฉบับใดมาใหม่ ฉบับใดมีการอ่านหรือตอบกลับไปแล้ว แต่ข้อเสียก็คือ Server จะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง และในระหว่างการอ่านหรือ Process E-mail เครื่อง Client จะต้องเชื่อมต่อกับ Server ตลอดเวลา ดังนั้นจึงทำงานได้ช้ากว่าแบบ POP

3. WEB Based Web Base Mail เช่น อีเมล์ของ hotmail.com, chaiyo.com ซึ่งหากต้องการใช้งานอีเมล์เหล่านี้ จะต้องใช้งานโดยผ่านทางเว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer, Firefox ก็สามารถเข้าเช็คอีเมล์หรือเขียนอีเมล์ได้อย่างสะดวก ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเสมอไป เพราะโปรแกรมอีเมล์ดังกล่าวได้ถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยี Web-based Application ที่ใช้โปรแกรมเว็บบราวเซฮร์เป็นเครื่องมือในการเปิดโปรแกรมใช้งาน จึงทำให้โปรแกรมอีเมล์สามารถทำงานได้เหมือนกับการเข้าไปดูเว็บไซต์ทั่วไป





ที่มา : http://natnareesweet.blogspot.com/2011/12/3.html

ขั้นตอนของการใช้บริการอีเมล

อีเมล (ชื่อย่อของ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์) เป็นวิธีที่รวดเร็วและสะดวกในการติดต่อกับผู้อื่น คุณสามารถใช้อีเมลในการ

  • ส่งและรับข้อความ คุณ สามารถส่งข้อความอีเมลไปให้บุคคลใดก็ได้ที่มีที่อยู่อีเมล ข้อความนั้นจะเข้าไปอยู่ในกล่องอีเมลขาเข้าของผู้รับภายในไม่กี่วินาทีหรือ ไม่กี่นาที ไม่ว่าเขาหรือเธอจะเป็นเพื่อนบ้านที่อยู่หลังถัดไป หรือใครก็ตามที่อยู่ไกลถึงครึ่งค่อนโลก คุณสามารถรับข้อความจากบุคคลใดก็ตามที่ทราบที่อยู่อีเมลของคุณ จากนั้นคุณก็อ่านแล้วตอบกลับข้อความเหล่านั้น
  • ส่งและรับแฟ้ม นอกจาก ข้อความอีเมลที่เป็นข้อความทั่วไปแล้ว คุณยังสามารถส่งแฟ้มชนิดใดก็ได้เกือบทุกชนิดในข้อความอีเมล รวมทั้งเอกสาร รูปภาพ และเพลง แฟ้มที่ส่งมาในข้อความอีเมลเรียกว่า สิ่งที่แนบมา
  • ส่งข้อความไปยังกลุ่มบุคคล คุณสามารถส่งข้อความอีเมลไปให้ผู้รับหลายคนพร้อมกัน ในขณะที่ผู้รับสามารถตอบกลับไปยังกลุ่มทั้งกลุ่มได้ ซึ่งทำให้เกิดการอภิปรายกลุ่ม
  • ส่งต่อข้อความ เมื่อคุณได้รับข้อความอีเมล คุณสามารถส่งต่อไปให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพิมพ์ข้อความนั้นใหม่

ข้อดีอย่างหนึ่งของอีเมลเมื่อเปรียบเทียบกับโทรศัพท์ หรือจดหมายทั่วไปก็คือความสะดวกในการใช้งาน คุณสามารถส่งข้อความในเวลาใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน ถ้าผู้รับไม่อยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์หรือไม่ได้ ออนไลน์ (เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต) ในขณะที่คุณส่งข้อความ ผู้รับจะพบอีเมลรออยู่ในเวลาต่อมาที่ตรวจสอบอีเมล ในกรณีที่ผู้รับออนไลน์อยู่ คุณอาจได้รับการตอบกลับภายในไม่กี่นาที

นอกจากนี้ การส่งอีเมลยังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ด้วย ซึ่งต่างกับการส่งจดหมายทั่วไป เพราะการส่งอีเมลไม่จำเป็นต้องมีแสตมป์หรือเสียค่าธรรมเนียม และไม่ต้องกังวลว่าผู้รับจะอยู่ที่ใด ค่าใช้จ่ายที่คุณต้องจ่ายมีเพียงค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตหรือ โปรแกรมอีเมลบางโปรแกรมเท่านั้น



ที่มา : http://windows.microsoft.com/th-th/windows/getting-started-email#getting-started-email=windows-7

การเขียนและการส่งจดหมาย




ข้อความอีเมลตัวอย่าง

ต่อไปนี้คือวิธีการใส่ข้อมูลลงในหน้าต่างข้อความของโปรแกรมอีเมลส่วนใหญ่ ขั้นตอนเหล่านี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับโปรแกรมอีเมลหรือบริการบนเว็บที่คุณกำลังใช้งาน

    1. ในช่อง ถึง พิมพ์ที่อยู่อีเมลของผู้รับอย่างน้อยหนึ่งราย ในกรณีที่คุณกำลังจะส่งข้อความไปยังผู้รับหลายราย ให้พิมพ์เครื่องหมายอัฒภาค (;) คั่นระหว่างที่อยู่อีเมล

    ในช่อง สำเนาถึง คุณสามารถพิมพ์ที่อยู่อีเมลของผู้รับลำดับที่สอง ซึ่งก็คือบุคคลที่ควรทราบเกี่ยวกับข้อความอีเมลนั้น แต่ไม่จำเป็นต้องกระทำการใดๆ เกี่ยวกับอีเมลนั้น ผู้รับลำดับที่สองจะรับข้อความเดียวกับที่บุคคลในช่อง ถึง ได้รับ ถ้าไม่มีผู้รับลำดับที่สอง ให้ปล่อยให้ช่องนั้นว่างไว้ โปรแกรมอีเมลบางโปรแกรมยังมีเขตข้อมูล สำเนาลับถึง ซึ่งช่วยให้คุณสามารถส่งข้อความไปยังบุคคลต่างๆ โดยซ่อนชื่อและที่อยู่อีเมลที่ระบุไม่ให้ผู้รับอื่นๆ เห็นได้

   2. ในช่อง เรื่อง ให้พิมพ์ชื่อเรื่องสำหรับข้อความของคุณ

   3. ส่วนในพื้นที่ว่างขนาดใหญ่ ให้พิมพ์ข้อความของคุณ

    เมื่อต้องการแนบแฟ้มไปกับข้อความ ให้คลิกปุ่ม แนบแฟ้มรูปภาพของปุ่ม 'แนบแฟ้มกับข้อความ' บนแถบเครื่องมือ (อยู่ด้านล่างของแถบเมนู) ให้ค้นหาแฟ้มที่ต้องการจะแนบ เลือกแฟ้มนั้น แล้วคลิก เปิด ขณะนี้แฟ้มดังกล่าวจะปรากฏในช่อง แนบ ที่ส่วนหัวของข้อความ


 แฟ้มที่แนบไปกับข้อความอีเมล

คุณทำเสร็จแล้ว! เมื่อต้องการส่งข้อความ ให้คลิกปุ่ม ส่ง ข้อมูลจะถูกส่งผ่านทางอินเทอร์เน็ตไปยังผู้รับของคุณ

หมายเหตุ

    เมื่อต้องการเปลี่ยนลักษณะแบบอักษร ขนาด หรือสีของข้อความ ให้เลือกข้อความ แล้วคลิกปุ่มใดปุ่มหนึ่งหรือรายการเมนูรายการใดรายการหนึ่งที่ช่วยให้คุณสามารถเปลี่ยนการจัดรูปแบบข้อความได้


ที่มา : http://windows.microsoft.com/th-th/windows/getting-started-email#getting-started-email=windows-7

การเขียนและการส่งจดหมาย




ข้อความอีเมลตัวอย่าง

ต่อไปนี้คือวิธีการใส่ข้อมูลลงในหน้าต่างข้อความของโปรแกรมอีเมลส่วนใหญ่ ขั้นตอนเหล่านี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับโปรแกรมอีเมลหรือบริการบนเว็บที่คุณกำลังใช้งาน

    1. ในช่อง ถึง พิมพ์ที่อยู่อีเมลของผู้รับอย่างน้อยหนึ่งราย ในกรณีที่คุณกำลังจะส่งข้อความไปยังผู้รับหลายราย ให้พิมพ์เครื่องหมายอัฒภาค (;) คั่นระหว่างที่อยู่อีเมล

    ในช่อง สำเนาถึง คุณสามารถพิมพ์ที่อยู่อีเมลของผู้รับลำดับที่สอง ซึ่งก็คือบุคคลที่ควรทราบเกี่ยวกับข้อความอีเมลนั้น แต่ไม่จำเป็นต้องกระทำการใดๆ เกี่ยวกับอีเมลนั้น ผู้รับลำดับที่สองจะรับข้อความเดียวกับที่บุคคลในช่อง ถึง ได้รับ ถ้าไม่มีผู้รับลำดับที่สอง ให้ปล่อยให้ช่องนั้นว่างไว้ โปรแกรมอีเมลบางโปรแกรมยังมีเขตข้อมูล สำเนาลับถึง ซึ่งช่วยให้คุณสามารถส่งข้อความไปยังบุคคลต่างๆ โดยซ่อนชื่อและที่อยู่อีเมลที่ระบุไม่ให้ผู้รับอื่นๆ เห็นได้

   2. ในช่อง เรื่อง ให้พิมพ์ชื่อเรื่องสำหรับข้อความของคุณ

   3. ส่วนในพื้นที่ว่างขนาดใหญ่ ให้พิมพ์ข้อความของคุณ

    เมื่อต้องการแนบแฟ้มไปกับข้อความ ให้คลิกปุ่ม แนบแฟ้มรูปภาพของปุ่ม 'แนบแฟ้มกับข้อความ' บนแถบเครื่องมือ (อยู่ด้านล่างของแถบเมนู) ให้ค้นหาแฟ้มที่ต้องการจะแนบ เลือกแฟ้มนั้น แล้วคลิก เปิด ขณะนี้แฟ้มดังกล่าวจะปรากฏในช่อง แนบ ที่ส่วนหัวของข้อความ


 แฟ้มที่แนบไปกับข้อความอีเมล

คุณทำเสร็จแล้ว! เมื่อต้องการส่งข้อความ ให้คลิกปุ่ม ส่ง ข้อมูลจะถูกส่งผ่านทางอินเทอร์เน็ตไปยังผู้รับของคุณ

หมายเหตุ

    เมื่อต้องการเปลี่ยนลักษณะแบบอักษร ขนาด หรือสีของข้อความ ให้เลือกข้อความ แล้วคลิกปุ่มใดปุ่มหนึ่งหรือรายการเมนูรายการใดรายการหนึ่งที่ช่วยให้คุณสามารถเปลี่ยนการจัดรูปแบบข้อความได้

องค์ประกอบภายในกล่องจดหมาย



เมนูด้านซ้าย: กดลิงค์ กล่องจดหมายที่เมนูด้านซ้าย เมนูด้านซ้ายนี้เป็นส่วนที่เป็นโครงสร้างของบัญชีในการจัดเก็บข้อมูล นอกจากกล่องจดหมาย แล้วยังมีกลุ่มของจดหมายดังนี้

ติดดาว : คือรายการจดหมายที่เลือกให้ติดดาวไว้เพื่อจัดแยกหมวดหมู่ของจดหมาย
การแชท: คือรายการการสนทนาผ่าน Google Talk ที่ผ่านมาแล้ว
จดหมายที่ส่งแล้ว: คือรายการจดหมายที่ถูกส่งออกไปแล้ว
ร่างจดหมาย: คือรายการจดหมายที่เขียนและบันทึกเป็นร่างจดหมายไว้
จดหมายทั้งหมด: คือรายการจดหมายทั้งหมดรวมทั้งที่เก็บลงฐานข้อมูล(Archive)ไว้ด้วย
จดหมายขยะ: คือรายการจดหมายที่ถูกตรวจสอบจากระบบว่าเป็น SPAM
ถังขยะ: คือรายการจดหมายที่ถูกลบ
การค้นหา: แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
ค้นหาจดหมาย: สามารถใช้ฟังก์ชั่นเพื่อค้นหาจดหมายได้โดยใส่ข้อความที่เฉพาะเจาะจงในการค้นหาแล้วกดปุ่ม ‘ค้นหาจดหมาย
ค้นหาในเว็บ: สามารถใช้ฟังก์ชั่นเพื่อค้นหาข้อมูลในเว็บได้โดยใส่ข้อความที่เฉพาะเจาะจงในการค้นหาแล้วกดปุ่ม ‘ค้นหาในเว็บ


ทีมา : https://sites.google.com/site/wachirayannamatee/contact-me