เนื่องจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเหมือนร่างแหที่แผ่ไปทั่ว จึงมีจุดที่จะเชื่อมต่อเข้ามาได้มากมายโดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่เดิม ซึ่งผู้ที่รับการเชื่อมต่อก็จะต้องลงทุนอุปกรณ์เครื่องมือรวมถึงค่าสัมปทานจากรัฐ (ขึ้นกับกฎหมายของแต่ละประเทศ ) จึงต้องคิดค่าบริการจากคนที่มาต่อผ่านตามสมควร ผู้ให้บริการเชื่อมต่อนี้ก็คือ ISP นั่นเอง ซึ่งแต่ละรายก็เก็บค่าบริการไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการเชื่อมต่อและเงื่อนไขบริการแก่คนอื่นๆ ฯลฯหรือบางรายก็ให้บริการฟรีแก่ลูกค้า เช่น สถาบันการศึกษาทำตัวเป็น ISP ให้นักศึกษาในสังกัดใช้อินเทอร์เน็ตฟรี หรือบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น ให้บริการอินเทอร์เน็ตฟรีแก่ลูกค้าที่ใช้หมายเลขโทรศัพท์ของตน เป็นต้น
สำหรับ ISP เองนั้นก็ต้องเชื่อมต่อกันเป็นทอดๆ เพื่อหาช่องทางที่จะเข้าสู่อินเทอร์เน็ตให้เหมาะกับลักษณะธุรกิจของตน เช่น ISP รายย่อยในต่างจังหวัดต่อเข้ามาผ่านISP รายใหญ่ในกรุงเทพหรือ ISP ในประเทศต่อออกไปที่ ISP ใหญ่ในต่างประเทศ โดยมีการเก็บค่าบริการกันเป็นทอดๆแล้วแต่ว่าใครจะต่อกับใคร จะต่อหลายทางพร้อมๆกันเพื่อเพิ่มความเร็วและเป็นช่องทางสำรองก็ได้ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งการดำเนินงานของ ISP ในต่างประเทศเองก็ไม่ผูกขาด เพราะมีทำกันหลายๆรายและหากมีลูกค้าผู้ใช้งานมากพอก็อาจมีผู้ลงทุนตั้ง ISP รายใหม่ วางสายและสร้างเครือข่ายเพิ่มได้อีก
ถ้าต่อผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา ก็ต้องมีโมเด็ม (Modem) ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์แล้วเอาสายโทรศัพท์มาต่อเข้าไปอีกทีหนึ่ง หรือถ้าเป็นโทรศัพท์แบบ ISDN (Integrated Services Digital Network) ก็ต้องใช้โมเด็ม ISDN โดยเฉพาะแทน
• ถ้าต่อผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา ก็ต้องมีโมเด็ม (Modem) ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์แล้วเอาสายโทรศัพท์มาต่อเข้าไปอีกทีหนึ่ง หรือถ้าเป็นโทรศัพท์แบบ ISDN (Integrated Services Digital Network) ก็ต้องใช้โมเด็ม ISDN โดยเฉพาะแทน
เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับระบบโทรศัพท์ได้แล้วก็ค่อยหมุนหมายเลขปลายทางไปยัง ISP อีกทอดหนึ่ง การเชื่อมต่อแบบนี้เรียกว่าแบบ Dial-up คือต้องหมุนโทรศัพท์เพื่อจะเชื่อมต่อแต่ละครั้ง พอเลิกใช้ก็วางสาย ต่างกับเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ ซึ่งจะต้องต่อกับ ISP รายใดรายหนึ่งตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะไม่รู้วส่าเมื่อไหร่จะมีคนเข้ามาเรียกดูข้อมูลหรือใช้หริการ ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้มักใช้สายความเร็วสูง เช่นสาย LAN เดินตรงถึงกัน เพราะได้ความเร็วสูงแต่ก็ต้องเอาเครื่องของเราไปไว้ในสถานที่เดียวกับเครื่องของ ISP หรือเรียกว่าการ “ตั้งเครื่องไว้ที่เดียวกัน” (Co-location) หรือไม่ก็เอาข้อมูลทั้งหมดของเว็บไซต์นั้นไปไว้บนเครื่องเดียวกับทาง ISP หรือเครื่องที่ทาง ISP จัดให้เลย ที่เรียกว่า “การรับฝากเว็บ” หรือ Web hosting นั่นเอง ซึ่งทั้งสองแบบนี้เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา และมีค่าใช้จ่ายแพงกว่าการต่อเป็นครั้งคราวแบบ Dial-up ของผู้ใช้ทั่วไป
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น